เมื่อวันที่ 5 ส.ค. องค์กรภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พีทีทีจีซี ตอบคำถามข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานต่อสาธารณะ ใน 21 ประเด็น เช่น เรื่อง ปริมาณน้ำมันรั่วไหล โดยต้องแสดงหลักฐาน ปริมาณที่แท้จริงน้ำมันดิบที่รั่วไหล โดยแสดงจำนวนปริมาณที่แท้จริงน้ำมันดิบที่คงเหลือในเรือ และอธิบายโดยละเอียดว่า เหตุใดน้ำมันดิบจึงเข้าสู่อ่าวพร้าว น้ำมันดิบทั้งหมดที่รั่วไหล ได้ถูกกำจัดและแพร่กระจายไปยังที่ใดบ้าง เป็นปริมาณเท่าใด ปริมาณที่ถูกกำจัดโดยการโปรยสารเคมี ปริมาณที่เก็บกู้ได้ และที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ แถลงการณ์ดังกล่าว ยังทวงถามถึงการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในภาวะฉุกเฉิน โดยได้ซักถามว่า ที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลทั้งหมดกี่ครั้ง มีการจัดการอย่างไร การรั่วไหลในครั้งนี้มีสาเหตุจากอะไร เช่น เป็นอุบัติเหตุ หรือเกิดจากอุปกรณ์เสื่อมคุณภาพ ระบบการควบคุมการปิดวาว์ลแบบอัตโนมัติเป็นอย่างไรวาล์วถูกปิดหลังจากการรั่ว ไหลเป็นเวลานานเท่าใด นับแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ตลอดปฏิบัติการ ทั้งในทะเลและบนฝั่ง ได้มีการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใครเป็นผู้ควบคุมหรือสั่งการ
ขณะเดียวกัน ก็ได้ตั้งประเด็นคำถามถึง ขั้นตอนการระงับเหตุก่อนนำไปสู่การตัดสินใจใช้สารเคมี โดยถามว่า เหตุใดจึงใช้ทุ่นขนาดสั้น (120 เมตร) เพื่อบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันก่อนใช้สารเคมีโปรยเท่านั้น – เหตุใดจึงไม่มีการใช้ทุ่น “ขนาดยาว” ล้อมคราบน้ำมันที่รั่วไหลเพื่อ “ดูดกลับ”
เช่นเดียวกับการซ้อมรับมือเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเลอลาสก้า ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีมาทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ พีทีทีจีซี ได้อ้างว่าดำเนินการเรื่องนี้ตามหลักสากลมาโดยตลอด ในประเด็นเดียวกันนี้ ยังได้ซักถามอีกว่า การกำจัดคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี เป็นวิธีที่พิจารณาแล้วอย่างรอบคอบหรือไม่ว่าควรใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายเมื่อ ไม่มีแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ โดยบริษัทควรชี้แจงเหตุผลและที่มาของการตัดสินใจลัดขั้นตอนโดยใช้สารเคมี ตั้งแต่เริ่มต้น และใช้ในปริมาณที่มากถึง 3.2 หมื่นลิตร
นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ภาคประชาสังคม ยังได้ตั้งประเด็นคำถามที่เน้นย้ำถึงเรื่อง ถึงเรื่องของสารเคมีที่ใช้ในการสลายคราบน้ำมัน โดยชี้ไปที่เรื่องการขออนุญาตใช้สารเคมีจำนวน 2.5หมื่นลิตร จากกรมควบคุมมลพิษ มีการคำนวณหรือประมาณการณ์อย่างไร ขณะที่ปริมาณที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้คือ 5,000 ลิตร แต่ระบุว่าใช้ไปทั้งหมด 3.2 หมื่นลิตร โดยไม่มีการขออนุญาต และเรียกร้องให้ตอบคำถามและแสดงหลักฐานให้ชัดเจนว่า สารเคมีทั้งหมดที่ใช้มีกี่ชนิด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีปริมาณเท่าใด ได้มาจากแหล่งใดบ้าง ขั้นตอนการใช้สารเคมีทั้งหมด อาทิ วันและช่วงเวลาที่โปรย สถานที่โปรย ลักษณะวิธีการโปรยเป็นอย่างไร
ประเด็นสุดท้าย องค์กรภาคประชาสังคม ต้องการคำตอบว่า น้ำมันที่เก็บกวาดไปจากอ่าวพร้าว ซึ่งแจ้งว่าถูกนำไปจัดการที่มาบตาพุด ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะนำไปกำจัดที่ไหนและอย่างไรบ้าง
สำหรับองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง 25 องค์กรประกอบด้วย
1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ 2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) 3. กรีนพีซเอเชีตะวันออกเฉียงใต้ (Greenpeace Southeast Asia) 4. คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม5. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 6. สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค7. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)8. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
9. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ10. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ11. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน12. เครือข่ายพลังงานยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์13. มูลนิธิพัฒนาอีสาน14. เครือข่ายผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี15. สมาคมผู้บริโภคสงขลา 16. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้17. ศูนย์สร้างจิตสำนีกนิเวศวิทยา (สจน.)18. สหพันธุองค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก
19. สมาคมรักษ์ทะเลไทย20. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม21. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)22. คณะกรรมการบริหารสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)23. มูลนิธิอันดามัน24. เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม (Civil Society Planning Network) 25. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
แหล่งข่าวจาก posttoday…