การเตรียมการสำหรับการติดตั้งเครื่องดูดควัน

เครื่องดูดควันที่วางจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะมีทั้ง 2 ระบบในเครื่องเดียวกันให้เลือกใช้ โดยจะมีช่องสำรองไว้ทั้งบริเวณด้านบนและด้านหลังของตัวเครื่องไว้สำหรับต่อท่อเพื่อระบายอากาศออกสู่ภายนอกได้ โดยจะมีฝาปิดไว้ให้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานและอุปกรณ์ดูดซับกลิ่นและควันต่างๆเพิ่มเติมมาให้ด้วยเพื่อให้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้ สำหรับการใช้งานในระบบหมุนเวียนภายใน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆแล้วไม่ควรเลือกใช้ระบบหมุนเวียนภายในเพราะให้ประสิทธิภาพในการใช้งานต่ำควรใช้ระบบดูดออกภายนอกซึ่งให้ประสิทธิภาพดีกว่ามาก การเตรียมการสำหรับการติดตั้งเนื่องจากเครื่องดูดควันเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องติดตรึงเข้ากับผนังหรือตู้ภายในห้องครัว

ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการไว้บ้างเพื่อให้การติดตั้งทำได้อย่างเหมาะสมและเรียบร้อยโดยการติดตั้ง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 จุดใหญ่ๆ คือการติดตั้งตัวเครื่องและการเดินท่อดูดควัน นอกจากนี้ตำแหน่งที่คาดว่าจะทำการติดตั้งควรจะเตรียมเดินสายไฟเอาไว้โดยเฉพาะบ้านที่มีการเดินสายไฟแบบฝังในผนัง ควรกำหนดตำแหน่งไว้แต่แรกแล้วเดินสายไฟเอาไว้เลยจะได้ไม่ต้องเดินสายลอยในภายหลัง แต่ถ้าเป็นไปได้ควรมีการเดินสายดินไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ การเชื่อมต่อไฟบ้านเข้ากับตัวเครื่องนั้นควรจะมีสวิตช์หรือเบรกเกอร์ควบคุมจากจุดภายนอกโดยเฉพาะด้วยเผื่อในกรณีที่เครื่องดูดควันมีปัญหาหรือต้องถอดออกไปซ่อมแซมจะได้สามารถตัดไฟที่จะเข้าเครื่องได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงระบบไฟฟ้าส่วนอื่นในบ้าน

การเดินท่อดูดควันในกรณีที่เลือกใช้เครื่องดูดควันระบบภายนอกจะต้องมีการติดตั้งท่อเพื่อนำควันที่ดูดออกสู่ภายนอก ถ้าเป็นบ้านที่กำลังปลูกสร้างอยู่ก็น่าจะทำการเจาะช่องผนังเตรียมไว้เพื่อใช้สำหรับการเดินท่อดังกล่าว ทั้งนี้ควรจะมีการเลือกรุ่นและแบบของเครื่องดูดควันที่จะนำมาติดตั้งเอาไว้ก่อนกำหนดตำแหน่งที่จะทำการติดตั้งให้แน่นอน ตลอดจนศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งและเดินท่อดูดควันจากผู้ขายเสียก่อน ในกรณีที่มีการทำตู้แขวนติดผนังเหนือเครื่องดูดควันอาจจะต้องดัดแปลงตู้โดยเจาะช่องด้านหลังหรือด้านบนของตู้เอาไว้ให้พอดีกับตำแหน่งของท่อดูดควันที่ติดตั้งการเตรียมการต่างๆข้างต้น