เลขา สบอช. เผยสถานการณ์น้ำท่วมฝั่งตะวันออกดีขึ้น เร่งระบายน้ำออกภายใน 17 ตค.

นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ สบอช. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาพรวมว่า มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นในทุกพื้นที่ โดยที่ฝั่งตะวันออก จะมีการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยเฉพาะที่ทุ่งบางพวง และศรีมหาโพธิ ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมอีก 30 เครื่อง คาดว่าจะสามารถระบายน้ำค้างทุ่งได้ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เพราะน้ำมีปริมาณมาก ส่วนนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเช่นกัน

ขณะเดียวกันมีความเป็นห่วงพายุนารีที่จะพัดใกล้ฝั่งฟิลิปปินส์มา ถึงเวียดนาม และไทยในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ มีฝนตกหนักในพื้นที่ แต่จะไม่ได้รับผลกระทบมาก ส่วนสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ กทม. บางส่วน เกิดจากระบบการระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ และบางพื้นที่เป็นพื้นที่ฟันหลอ

นอกจากนี้ นายสุพจน์ ระบุว่า ไม่กังวลกรณีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นศาลปกครองให้คุ้มครองชั่วคราว กรณีที่ กบอ. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ 36 จังหวัด เพราะได้ทำตามมติ ครม. และคำสั่งของศาลปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้รัฐบาลเตรียมเชิญนายศศิน เฉลิมลาภ เลขามูลนิธิสืบ นาคะเสถียร และชาวบ้านในพื้นที่ มาหารือกรณีการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ในช่วงบ่าย พร้อมยืนยันว่าการพูดคุยจะมีทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและคัดค้าน ซึ่งจะเป็นการหารือทางด้านวิชาการ

ขณะที่ความคืบหน้าการจัดตั้งกระทรวงน้ำ วันนี้ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน ซึ่งจะนำมาสรุปเป็นร่างฉบับประชาชนเข้าชื่อ เพื่อนำเข้าสู่การพิจาร ณาของสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงร่างของรัฐบาล และร่างของนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งจะเร่งดำเนินการเช่นกัน เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินโครงการ 3.5 แสนล้านบาท

 

 

แหล่งข่าวจาก posttoday…

กำจัดอาการปวดหลังอย่างถูกวิธีแต่เนิ่นๆ

สมองของเรามีหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งแบบที่เราบังคับมันได้ และแบบที่ทำหน้าที่ได้เองตามอัตโนมัติ โดยเราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความรู้สึกหิว ง่วง เจ็บปวด หนาว ร้อน ปวดปัสสาวะ อุจจาระ เมื่อสมองจำได้ ก็ลืมได้เช่นกัน http://www.drcareclinic.comหากความจำนั้นไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นความจำระยะยาวอย่างถาวร เช่น การจดจำลักษณะท่าทางการเดิน ยืน นั่ง วิ่ง ของตัวเอง นับเป็นความทรงจำระยะยาว เพราะเราฝึกหัดเดิน ยืน วิ่ง มาเป็นเวลานานนับสิบ ๆ ปี แต่เมื่อเราเจ็บป่วยไม่ได้เดินนานๆ

สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกันอย่างละเอียดในการเดิน ก็อาจลืมหน้าที่ของมันไปได้เหมือนกัน แต่เราก็ยังไม่ลืมท่าทางการยืน เดิน และวิ่ง เพียงแต่บังคับร่างกายได้ลำบากขึ้น เพราะการยืน เดิน ของเรานั้นต้องใช้สมองส่วนที่ควบคุมได้ และส่วนที่ทำงานอัตโนมัติควบคู่กันไป ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากได้รับการรักษาอาการปวดหลังอย่างถูกวิธีแต่เนิ่นๆ และมีความเข้าใจในเรื่องสาเหตุของอาการเป็นอย่างดี สมองของเราก็จะจำได้ดีว่ามันต้องทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อหลัง คอและขาอย่างไรให้สัมพันธ์กัน และไม่เกิดอาการเจ็บป่วยเมื่อต้องทำงานหนัก กล้ามเนื้อส่วนที่ไม่ได้ใช้เมื่อเกิดอาการปวดหลังต้องได้รับการกระตุ้นให้ทำงาน

สมองต้องเรียนรู้ที่จะจดจำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญอีกครั้ง และฝึกให้เป็นความทรงจำระยะยาว เพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยป้องกัน ชะลอ และบรรเทาอาการปวดหลังได้ในระยะสั้น ระยะยาว หรือแม้กระทั่งหายขาดจากอาการปวดหลังได้อย่างถาวร การฝึกท่าทางต่างๆให้ถูกต้อง และออกกำลังกายในท่าทางที่เหมาะสมกับภาวะอาการปวดหลัง จึงต้องทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่ใช่เรื่องตลกหรือเป็นสิ่งที่ผลัดผ่อนไปก่อนได้