สมองของเรามีหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งแบบที่เราบังคับมันได้ และแบบที่ทำหน้าที่ได้เองตามอัตโนมัติ โดยเราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความรู้สึกหิว ง่วง เจ็บปวด หนาว ร้อน ปวดปัสสาวะ อุจจาระ เมื่อสมองจำได้ ก็ลืมได้เช่นกัน http://www.drcareclinic.comหากความจำนั้นไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นความจำระยะยาวอย่างถาวร เช่น การจดจำลักษณะท่าทางการเดิน ยืน นั่ง วิ่ง ของตัวเอง นับเป็นความทรงจำระยะยาว เพราะเราฝึกหัดเดิน ยืน วิ่ง มาเป็นเวลานานนับสิบ ๆ ปี แต่เมื่อเราเจ็บป่วยไม่ได้เดินนานๆ
สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกันอย่างละเอียดในการเดิน ก็อาจลืมหน้าที่ของมันไปได้เหมือนกัน แต่เราก็ยังไม่ลืมท่าทางการยืน เดิน และวิ่ง เพียงแต่บังคับร่างกายได้ลำบากขึ้น เพราะการยืน เดิน ของเรานั้นต้องใช้สมองส่วนที่ควบคุมได้ และส่วนที่ทำงานอัตโนมัติควบคู่กันไป ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากได้รับการรักษาอาการปวดหลังอย่างถูกวิธีแต่เนิ่นๆ และมีความเข้าใจในเรื่องสาเหตุของอาการเป็นอย่างดี สมองของเราก็จะจำได้ดีว่ามันต้องทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อหลัง คอและขาอย่างไรให้สัมพันธ์กัน และไม่เกิดอาการเจ็บป่วยเมื่อต้องทำงานหนัก กล้ามเนื้อส่วนที่ไม่ได้ใช้เมื่อเกิดอาการปวดหลังต้องได้รับการกระตุ้นให้ทำงาน
สมองต้องเรียนรู้ที่จะจดจำการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญอีกครั้ง และฝึกให้เป็นความทรงจำระยะยาว เพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยป้องกัน ชะลอ และบรรเทาอาการปวดหลังได้ในระยะสั้น ระยะยาว หรือแม้กระทั่งหายขาดจากอาการปวดหลังได้อย่างถาวร การฝึกท่าทางต่างๆให้ถูกต้อง และออกกำลังกายในท่าทางที่เหมาะสมกับภาวะอาการปวดหลัง จึงต้องทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่ใช่เรื่องตลกหรือเป็นสิ่งที่ผลัดผ่อนไปก่อนได้